วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เคมีอินทรีย์ บทที่ 2 สารประกอบอัลเคน Alkanes

 สารประกอบอัลเคน
  อัลเคนเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีสูตรทั้วไปเป็น CnH2n+2

1. การเรียกชื่อ Nomeclature
แบ่งเป็น 2 ประเภท คือชื่อสามัญ และชื่อ IUPAC

การเรียกชื่อสามัญ

ใช้เรียกชื่อโมเลกุลเล็กๆ ที่ไม่ซับซ้อน ถ้าโมเลกุลใหญ่ขึ้นอาจจะต้องเติมคำนำหน้า  
เช่น n- , iso- , หรือ neo-   ลงไปด้วย 

 ตัวอย่างเช่น
          CH4 เรียก  มีเทน
          CH3 - CH2 - CH3 เรียกโพรเพน
          CH3 - CH2 - CH2 - CH2 - CH3   เรียกนอร์มอลเพนเทน
         
         
          CH3 - CH2 - CH2 - CH2 - CH2 - CH3    เรียกนอร์มอลเฮกเซน
          
การเรียกชื่อ IUPAC

มีหลักการเรียกชื่อดังนี้
          1. ถ้าเป็นโมเลกุลสายยาว ไม่มีกิ่ง ให้เรียกชื่อโครงสร้างหลักตามจำนวนคาร์บอนที่มี แล้วลงท้ายด้วย - ane (- เช่น
          CH3-CH2-CH2-CH3        มีคาร์บอน 4 อะตอมเรียกว่า  บิวเทน  (butane = but +ane)
          CH3-CH2-CH2-CH2-CH3  มีคาร์บอน 5 อะตอมเรียกว่า  เพนเทน  (pentane = pent +ane)
          CH3-CH2-CH2-CH2- CH2-CH3 มีคาร์บอน 6 อะตอมเรียกว่า เฮกเซน  (hexane = hex +ane)
          2.  ถ้าเป็นโมเลกุลสายยาวที่มีกิ่ง ให้เลือกโครงสร้างหลักที่คาร์บอนต่อกันเป็นสายยาวที่สุดก่อนเรียกชื่อโครงสร้างหลักแล้วลงท้ายด้วย -ane (- )   หลังจากนั้นจึงพิจารณาส่วนที่เป็นกิ่ง
          3.ส่วนที่เป็นกิ่ง เรียกว่าหมู่แอลคิล การเรียกชื่อหมู่แอลคิลมีหลักการดังนี้
                   หมู่อัลคิล (alkyl group) หมายถึง หมู่ที่เกิดจากการลดจำนวนอะตอมของไฮโดรเจนในแอลเคน 1 อะตอม หรือ หมู่แอลคิลคือแอลเคนที่ไฮโดรเจนลดลง 1 อะตอมนั่นเอง     เขียนสูตรทั่วไปเป็น -R   โดยที่  R =  CnH2n + 1
ตัวอย่างแอลเคนและหมู่แอลคิล



แอลเคน (R-H)
แอลคิล (-R)
CH4
C2H6
C3H8
C4H10
C5H12
-CH3
-C2H5
-C3H7
-C4H9
-C5H11

          การเรียกชื่อหมู่อัลคิล
          เรียกเหมือนกับอัลเคน แต่เปลี่ยนคำลงท้ายจาก -ane เป็น  -yl พวกแอลคิลหมู่เล็กๆ มักนิยมเรียกชื่อแบบสามัญ แต่ถ้าโครงสร้างซับซ้อนต้องเรียกชื่อตามระบบ IUPAC ดังเช่นตัวอย่างต่อไปนี้
จำนวน
แอลเคน
หมู่แอลคิล
C อะตอม
โครงสร้าง
ชื่อ
โครงสร้าง
ชื่อ
1
CH4
มีเทน (methane)
-CH3
เมทิล (methyl)
2
CH3 - CH3
อีเทน (ethane)
-CH2 - CH3
เอทิล (ethyl)
3
CH3- CH2 -CH3
โพรเพน
 (propane)
-CH2 - CH2 - CH3
โพรพิล
(propyl)



ไอโซโพรพิล (isopropyl)
4
CH3 - CH2 -CH2 - CH3
บิวเทน (butane)
-CH3-CH2-CH2-CH3
บิวทิล (butyl)



เซคอนดารี-บิวทิล
(secondary-butyl
หรือ sec-butyl)



เทอเซียรี่-บิวทิล
(tertiary butyl หรือ
tert-butyl)

 ไอโซบิวเทน
(isobutane)
ไอโซบิวทิล
(isobutyl)
5
CH3-CH2 -CH2 -CH2 -CH3
เพนเทน
(pentane)
-CH2-CH2-CH2-CH2 -CH3
เพนทิล หรือ
นอร์มอล-เพนทิล
(pentyl หรือ
n-pentyl  หรือ
sec-pentyl)

นิโอเพนเทน
นีโอเพนทิล
(neopentyl)

ไอโซเพนเทน
ไอโซเพนทิล
(isopentyl)



เทอเซียรี่-เพนทิล
tert-pentyl

          4.การนับจำนวนคาร์บอนในโครงสร้างหลักเพื่อบอกตำแหน่งของหมู่แอลคิล ให้ใช้ตัวเลขที่มีค่าน้อยที่สุด  เช่น

          5.ตรวจดูว่ามีหมู่แอลคิลอะไรบ้าง ต่ออยู่กับคาร์บอนตำแหน่งไหนของโครงสร้างหลักให้เรียกชื่อหมู่แอลคิลนั้นโดยเขียนเลขบอกตำแหน่งไว้หน้าชื่อพร้อมกับมีขีด ( - ) คั่นกลาง  เช่น
                   2-methyl,   3-methyl ,   3-ethyl   ฯลฯ

          6.ถ้ามีหมู่แอลคิลที่เหมือนกันหลายหมู่ ให้บอกตำแหน่งทุก ๆ หมู่ และบอกจำนวนหมู่ด้วยภาษาละติน  เช่น  di = 2,  tri = 3 , tetra = 4 , penta = 5 , hexa = 6 , hepta = 7 , octa = 8 , nona = 9 , deca = 10  เป็นต้น  เช่น
                   2, 3 - dimethyl   , 
3, 3 , 4 - trimethyl

          7.ถ้ามีหมู่แอลคิลต่างชนิดมาต่อกับโคงสร้างหลัก ให้เรียกทุกหมู่ตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษ (ไม่รวมจำนวนหมู่ เช่น di, tri , tetra)  พร้อมกับบอกตำแหน่งของหมู่แอลคิลแต่ละหมู่  เช่น
                   3-ethyl - 2 - methyl   ,  
                   3 - ethyl - 2, 3 - dimethyl
         
          8.ถ้าหมู่แอลคิลมคาร์บอนไม่เกิน 4 อะตอมมักจะเรียกแบบชื่อสามัญ แต่ถ้ามากกว่านี้และเรียกชื่อสามัญไม่ได้ให้เรียกตามระบบ IUPAC
          9.ชื่อของหมู่แอลคิลและชื่อโครงสร้างหลักต้องเขียนติดกัน

ตารางแสดง ชื่อในระบบ IUPAC  ของแอลเคนที่คาร์บอนต่อกันเป็นสายยาว 10 ตัวแรก

จำนวนอะตอมของคาร์บอน
สูตรโครงสร้าง
ชื่อ
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
CH4
CH3 - CH3
CH3 - CH2 - CH3
CH3 - (CH2)2 - CH3
CH3 - (CH2)3 - CH3
CH3 - (CH2)4 - CH3
CH3 - (CH2)5 - CH3
CH3 - (CH2)6 - CH3
CH3 - (CH2)7 - CH3
CH3 - (CH2)8 - CH3
มีเทน (methane)
อีเทน (ethane)
โพรเพน (propane)
บิวเทน (butane)
เพนเทน (pentane)
เฮกเซน (hexane)
เฮปเทน (heptane)
ออกเทน (octane)
โนเนน (nonane)
เดกเซน (decane)
         
ไอโซเมอร์ของแอลเคน
          แอลเคนจะเริ่มมีไอโซเมอร์เมื่อโมเลกุลมี  C 4 อะตอมขึ้นไป และเมื่อ C ในโมเลกุลเพิ่มขึ้นจำนวนไอโซเมอร์จะเพิ่มขึ้นด้วย

ตาราง แสดงจำนวนไอโซเมอร์ของแอลเคน

จำนวนคาร์บอน
สูตรโมเลกุล
จำนวนไอโซเมอร์
4
5
6
7
9
10
15
20
30
C4H10
C5H12
C6H14
C7H16
C9H20
C10H22
C15H32
C20H42
C30H62
2
3
5
9
35
75
4347
336319
411846763


 สมบัติทางกายภาพ

      1.เป็นสารประกอบที่ไม่มีสีและไม่มีกลิ่น ดังนั้นเมื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงจึงต้องใส่สารที่มีกลิ่นไปด้วยเช่น butyl mercaptan เพื่อเป็นตัวบอกให้ทราบว่ามีก๊าซรั่วหรือไม่
       2.พวกโมเลกุลเล็กๆ ประมาณจำนวนคาร์บอน 1 -4 อะตอมจะเป็นก๊าซ  จำนวนคาร์บอน 5-17 อะตอมจะเป็นของเหลวและากกว่า 17 อะตอมจะเป็นของแข็ง
       3.เป็นโมเลกุลโคเวเลนต์ชนิดไม่มีขั้วจึงไม่ละลายในตัวทำละลายที่มีขั้ว เช่น น้ำ แต่ละลายได้ดีในตัวทำละลายท่ำม่มีขั้ว เช่น เบนซีน โทลูอีน
       4.ไม่นำไฟฟ้าในทุกสถานะ
       5.จุดเดือดและจุดหลอมเหลวค่นข้างต่ำ เนื่องจากเป็นโมเลกุลไม่มีขั้วจึงมีแรงระหว่างโมเลกุลเพียงชนิดเดียว คือแรงแวนเดอร์วาลส์ ซึ่งเป็นแรงที่อ่อน ดังนั้นจุดเดือดจึงค่อนข้างต่ำ แต่จุดเดือดจะเพิ่มขึ้นเมื่อมวลโมเลกุลเพิ่มขึ้น แรงแวนเดอร์วาลส์จึงเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลทำให้จุดเดือดสูงขึ้น
      6.สำหรับแอลเคนที่เป็นไอโซเมอร์กัน ชนิดที่เป็นโซ่ตรงจะมีจุดเดือดสูงกว่าชนิดที่เป็นโซ่กิ่ง เนื่องจากชนิดที่เป็นโซ่ตรงมีพื้นที่ผิวของโมเลกุลซึ่งจะก่อให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมากกว่าชนิดที่เป็นโซ่กิ่ง ยิ่งมีสาขามากเท่าใดจะยิ่งมีจุดเดือดต่ำลงเท่านั้น
ตัวอย่างเช่น

          7.มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ ความหนาแน่นมากที่สุดประมาณ 0.8 g/cm3  ดังนั้นแอลเคนจึงลอยน้ำ แอลเคนที่มีโครงสร้างในลักษณะเดียวกัน เมื่อ ในโมเลกุลเพิ่มขึ้นความหนาแน่นจะเพิ่มขึ้น
          8.ติดไฟง่ายและไม่มีเขม่า
 การเตรียมสารประกอบแอลเคน
Hydrogenation of Alkenes or Alkynes
  เป็นการเตรียมสารประกอบอัลเคนโดยการเติมไฮโดรเจนเข้าไป ในพันธะไพของสารประกอบอัลคีนหรืออัลไคน์ 
โดยมีตัวเร่งปฏิกิริยาเป็นโลหะ
Hydrogenation of Alkyhalides
  เป็นการเตรียมสารประกอบอัลเคนโยการให้สารประกอบอัลคิลเฮไลด์ทำปฏิกิริยาไฮโดรเจน โดยมีโลหะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
  ปฏิกิริยาของสารประกอบอัลเคน
          โดยทั่วๆ ไปแอลเคนเป็นสารประกอบที่ค่อนข้างเฉื่อย เกิดปฏิกิริยากับสารเคมีต่างๆ ที่อุณหภูมิห้องช้า จึงได้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พาราฟิน (parafin) ซึ่งมาจากภาษาละตินคือ parum affinis ซึ่งหมายถึงไม่ถูกทำลายด้วยกรด เบส ตัวออกซิไดส์ หรือตัวรีดิวซ์ จึงไม่เหมาะแก่การทดลองในห้องปฏิบัติการ แต่ในกระบวนการทางอุตสาหกรรมสามารถทำให้เกิดปฏิกิริยาได้
          เนื่องจากแอลเคนเป็นสารประกอบของคาร์บอนที่อิ่มตัวจึงไม่เกิดปฏิกิริยาการเติม แต่จะเกิดปฏิกิริยาการแทนที่โดยมีปฏิกิริยาที่สำคัญดังนี้


          1. ปฏิกิริยาการเผาไหม้ (combustion oxidation)
          เมื่อแอลเคนทำปฏิกิริยากับออกซิเจนจะติดไฟได้ง่าย ไม่มีเขม่าและคายความร้อนมากซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ใช้แอลเคนเป็นเชื้อเพลิง เขียนเป็นสมการทั่ว ๆ ไปได้ดังนี้

                             CxHy  +  ( x + )O2  ®  xCO2  +  H2O
           2.ปฏิกิริยาการแทนที่ (substitution reaction) หมายถึง ปฏิกิริยาที่ ไฮโดรเจน ในแอลเคนถูกแทนที่ด้วยอะตอมหรือกลุ่มอะตอมอื่น ๆ ถ้าถูกแทนที่ด้วยธาตุเฮโลเจน เช่น Cl2 , Br2   จะเรียกว่าปฏิกิริยา  ฮาโลจิเนชัน (halogenation)  โดยถ้าใช้  Cl2  จะเรียกเป็นชื่อเฉพาะว่าปฏิกิริยา คลอริเนชัน (chlorination)  และถ้าใช้ Br2  จะเรียกปฏิกิริยา โบรมิเนชัน (bromination) สำหรับ F2 ไม่ใช้เพราะเกิดปฏิกิริยารุนแรง  I2  ไม่ใช้เพราะเป็นของแข็งซึ่งไม่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยาทั้งนี้ปฏิกิริยาที่จะเกิดขึ้นได้ต้องมีแสงสว่างเป็นตัวช่วย
          ในปฏิกิริยาฮาโลจิเนชันของแอลเคนจะได้ผลิตภัณฑ์เป็น อัลคิลเฮไลด์ (alkyl halide) และก๊าซ ไฮโดรเจนเฮไลด์ เขียนเป็นสมการทั่ว ๆ ไปดังนี้

                   CnH2n +2   +    X2       CnH2n + 1X    +    HX
                   แอลเคน     ฮาโลเจน               อัลคิลเฮไลด์   ไฮโดรเจนเฮไลด์



          3.ปฏิกิริยาการแตกสลาย (cracking or pyrolysis)  เป็นปฏิกิริยาที่ทำให้แอลเคนโมเลกุลใหญ่ๆ สลายตัวกลายเป็นโมเลกุลที่เล็กลง โดยการเผาแอลเคนในภาชนะที่อุณหภูมิประมาณ  400-600 0C  พร้อมทั้งมีตัวเร่งปฏิกิริยา เช่น

Al2O3-SiO2
 
                   CH3-CH2-CH2-CH3 C4H8 + C3H6 + C2H6 + C2H4 + CH4 + H2

  สารประกอบไซโคลอัลเคน
ซโคลแอลเคน เป็นไฮโดรคาร์บอนที่มีโครงสร้างเป็นวง พันธะระหว่างอะตอมคาร์บอนยึดเหี่ยวด้วยพันธะเดี่ยว เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวเช่นเดียวกับแอลเคน มีสูตรทั่วไปเป็น CnH2n โดยประกอบด้วยคาร์บอนตั้งแต่ 3 อะตอมขึ้นไป
   เรียกเหมือนกับแอลเคน แต่นำหน้าชื่อด้วยคำว่า ไซโคล (cyclo) เช่น ไซโคลโพรเพน  ไซโคลบิวเทน  ไซโคลเพนเทน  เป็นต้น



ไซโคลโพรเพนCyclopropane

ไซโคลบิวเทนCyclobutane

ไซโคลเพนเทน
Cyclopentana

ไซโคลเฮกเซน
Cyclohexane


   ไซโคลแอลเคน เป็นไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัว เป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว มีแนวโน้มของจุดหลอมเหลวและจุดเดือดเพิ่มขึ้นตามจำนวนอะตอมของคาร์บอนเช่นเดียวกับแอลเคนโซ่ตรง

การเกิดปฏิกิริยา คล้ายกับแอลเคนโซ่ตรง คือเกิดปฏิกิริยาแทนที่กับเฮโลเจนในที่มีแสงสว่าง   ติดไฟได้ดีไม่มีเขม่าและควัน

       
+
Br2
+
HBr
Cyclohexane   Bromo cyclohexaneHydrogen bromide
      
บรรนานุกรม เว็บไซต์ : http://www.promma.ac.th/main/chemistry/boonrawd_site/cycloalkane.htm
                                  :  http://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem7/type_of_hydrocarbon.htm



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น