วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เคมีอินทรีย์ บทที่ 5 สารประกอบอะโรมาติก (Aromatic Compounds)

บทที่ 5
สารประกอบอะโรมาติก
  
   อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน หมายถึงสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีเบนซีน (C6H6) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัวประเภทหนึ่ง มีโครงสร้างหลักเป็นวงเบนซีน (benzene ring)
          ภายในวงเบนซีน จะมีคาร์บอน  6  อะตอมต่อกันเป็นวง โดยมีพันธะเดี่ยวและพันธะคู่สลับกันไป
สารประกอบอะโรมาติกตัวแรกคือเบนซีน ประกอบด้วยคาร์บอน 6 อะตอมต่อกันเป็นวง คาร์บอนทุก ๆ อะตอมอยู่ในระนาบเดียวกันและต่อกับไฮโดรเจนอีก 1 อะตอม พันธะระหว่างอะตอมของคาร์บอนทั้ง 6 พันธะมีความยาวเท่ากัน เนื่องจากอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไปมาภายในวงเบนซีน เบนซีนจึงมีโครงสร้างเป็นเรโซแนนซ์

หรือ
เขียนเป็นโครงสร้างแบบใช้เส้นและมุมได้ดังนี้






หรือ
 H  ในเบนซีนอาจจะถูกแทนที่ด้วยอะตอมหรือหมู่อะตอมเพียง  1  หมู่ หรือมากกว่า 1 หมู่ก็ได้ถ้าถูกแทนที่ด้วยหมู่แอลคิลจะยังคงเป็นอะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน แต่ถ้าถูกแทนที่ด้วยหมู่ฟังก์ชันอื่นๆ เช่น  - Cl,  - OH,  -NH2  จะกลายเป็นอนุพันธ์ของอะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน
การเรียกชื่ออะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน
สำหรับอะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอนที่เป็นโมเลกุลเล็กๆ และไม่ซับซ้อนเรียกชื่อโดยใช้เบนซีนเป็นชื่อหลัก
ถ้าหมู่แอลคิล  1  หมู่ มาเกาะที่วงแหวนเบนซีน ให้เรียกชื่อหมู่อัลคิลนำหน้า  benzene (เบนซีน)  แต่ถ้ามีหมู่แอลคิลมากกว่า  1  หมู่
จะต้องบอกตำแหน่งของหมู่แอลคิลด้วย  ตัวอย่างการเรียกชื่อ 
โครงสร้าง
ชื่อ IUPAC
ชื่อสามัญ
เมทิลเบนซีน
โทลูอีน
เอทิลเบนซีน
-
ไอโซโพรพิวเบนซีน
คูเมน (cumene)
ไวนิลเบนซีน
สไตรีน
(styrene)
1,3-ไดเมทิลเบนซีน
m-xylene


สมบัติทางกายภาพของอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน
          1.เป็นสารประกอบที่มีกลิ่นเฉพาะตัว
          2.เป็นโมเลกุลโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว ดังนั้นจึงไม่ละลาย แต่ละลายได้ดีในตัวทำละลายไม่มีขั้ว เช่น CCl4  อีเทอร์
          3.มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ
          4.จุดเดือดและจุดหลอมเหลวเพิ่มขึ้นตามขนาดของโมเลกุลที่ใหญ่ขึ้น
          5.เป็นสารประกอบไม่อิ่มตัว มีพันธะคู่มาก เมื่อเผาไฟจึงมีเขม่ามาก (มากกว่าแอลคีนและแอลไคน์)

ตารางแสดง สมบัติบางประการของอะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอนบางชนิด
ชื่อ
สูตรโมเลกุล
สูตรโครงสร้าง
จุดเดือด (0C)
จุดหลอมเหลว(0C)
เบนซีน
C6H6

80.1
5.5
โทลูอีน
C7H8
110.6
-95.0
สไตรีน
C8H8
146
-
แนฟทาลีน
C10H8
218
80.5
anthracene
C14H10
340.0
216.0
phenanthrene
C14H10
-
101
ปฏิกิริยาเคมีของอะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน
  1.ปฏิกิริยาการเผาไหม้ ถ้าเผาไฟในบรรยากาศปกติจะมีเขม่าจำนวนมาก เพราะเกิดปฏิกิริยาไม่สมบูรณ์ แต่ถ้าเผาในที่ๆ มี O2 
จำนวนมากเกินพอ จะเกิดปฏิกิริยาสมบูรณ์ ไม่มีเขม่า และได้ H2O  และ CO2  เป็นผลิตภัณฑ์ เหมือนกับไฮโดรคาร์บอนอื่นๆ   เช่น

             2C2H6  +  15O2  ----->  12CO2  +  6H2O
             C7H8   +  9O2   ------>   7CO2  +  4H2O

          2.ปฏิกิริยาการแทนที่ พิจารณาตัวอย่างปฏิกิริยาของเบนซีนดังนี้
ก. Halogenation  เบนซีนจะทำปฏิกิริยากับ Cl2  หรือ  Br2  ได้โดยมีผงเหล็ก หรือ  FeCl3  เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
เกิดปฏิกิริยาการแทนที่และได้ก๊าซ HX  เช่น


ข.  Nitration  ทำปฏิกิริยากับ  HNO3  และ  H2SO4  เข้มข้น

ค.  Sulfonation ทำปฏิกิริยากับ H2SO4  เข้มข้น


ตารางสรุป  สมบัติเปรียบเทียบระหว่างแอลเคน  แอลคีน แอลไคน์
และอโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน

สมบัติ
แอลเคน
แอลคีน
แอลไคน์
อะโรมาติก
สมบัติทางกายภาพ




สูตรทั่วไป
CnH2n + 2
CnH2n
CnH2n - 2

สี
ไม่มีสี
ไม่มีสี
ไม่มีสี
ไม่มีสี
กลิ่น
ไม่มี
มีกลิ่นเฉพาะตัว
มีกลิ่นเฉพาะตัว
มีกลิ่นเฉพาะตัว
ขั้วโมเลกุล
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
พันธะ
พันธะเดี่ยวทั้งหมด
พันธะคู่อย่างน้อย 1 แห่ง
พันธะสามอย่างน้อย 1 แห่ง
พันธะคู่อย่างน้อย 3 แห่ง
การละลายน้ำ
ไม่ละลาย
ไม่ละลาย
ไม่ละลาย
ไม่ละลาย
การละลายในตัวทำละลายไม่มีขั้ว
ละลาย
ละลาย
ละลาย
ละลาย
แรงระหว่างโมเลกุล
แวนเดอร์วาลส์
แวนเดอร์วาลส์
แวนเดอร์วาลส์
แวนเดอร์วาลส์
จุดเดือด
ต่ำ
ต่ำที่สุด
สูง
สูงมาก
ความหนาแน่น
น้อยกว่าน้ำ
น้อยกว่าน้ำ
น้อยกว่าน้ำ
น้อยกว่าน้ำ
สมบัติทางเคมี




การเผาไหม้
ไม่มีเขม่า
มีเขม่า
มีเขม่ามาก
มีเขม่าน้อย
ชนิดของปฏิกิริยา
การแทนที่
การเติม
การเติม
การแทนที่
การฟอกสี Br2
     ในที่มืด
     ในที่สว่าง

ไม่ฟอกสี
ฟอกสี

ฟอกสี
ฟอกสี

ฟอกสี
ฟอกสี

ไม่ฟอกสี
ไม่ฟอกสี
การฟอกสี KMnO4
ไม่ฟอกสี
ฟอกสี
ฟอกสี
ฟอกสี
ปฏิกิริยากับ H2/Pt
ไม่เกิด
เกิด
เกิด
ไม่เกิด
การเกิดพอลิเมอร์
ไม่เกิด
เกิด
เกิด
ไม่เกิด

          * สำหรับสารที่มีมวลโมเลกุลใกล้เคียงกัน จุดเดือด แอลไคน์ > แอลเคน >  แอลคีน

ประโยชน์ของอะโรมาติก
       

บรรณานุกรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น